เด็กแว้นชอบบิดออนเดอะRoad ส่วนนักLoadชอบบิตTorrent

มิวสิควิดีโอ “WAAN BOY ‘N’ SAGOI GIRL จาก GANCORE CLUB

ใน blog ไม่ได้มีเรื่องราววิชาการมานานแล้ว กลับมาครั้งนี้ผมไม่ได้นำแค่เพียงมิวสิควิดีโอเซ็กซี่ของก้านคอคลับมาให้ชมเท่านั้น แต่ยังจะมาทบทวนพื้นฐานของ BitTorrent ซอฟต์แวร์ Peer-to-Peer สำหรับแชร์ไฟล์ที่โด่งดัง(ที่สุดในโลก)ด้วย เนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านๆมาผมได้ทำการค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวกับ BitTorrent ว่ามีอะไรบ้าง ผมคาดว่าในหัวข้อต่อไปๆอาจจะมีการกล่าวถึง Bittorrent ผมเลยขอเปิดประเด็น BitTorrent ณ ที่นี้เลยแล้วกัน Continue reading

Redundancy: มารู้จักวิธีโคลนนิ่งกันเถอะ (ภาค 1)

ก่อนอื่นต้องขอประทานโทษที่ผมหายหน้าไปนาน เพราะผมอยู่ในช่วงสอบและผมมีภาระกิจที่ได้รับให้ทำวิจัยโครงงานหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ Thesis ของผมเลยนะ เป็นแค่โครงงานของวิชาหนึ่งของผม  แต่ก็ทำให้ผมต้องยุ่งกับโครงงานนี้ไปหลายวันพอสมควรครับ และหัวข้อครั้งนี้ ผมก็ขอเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับโครงงานที่ผมได้ไปทำนี้แหละครับ ซึ่งเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการสร้างความซ้ำซ้อนให้กับข้อมูลหรือ Redundancy (ผมขอใช้ทับศัพท์เลยนะครับ) โดยวัตถุประสงค์ของโครงงานคือการเปรียบเทียบกลยุทธ์ของ Redundancy โดยการใช้ Simulation จริงๆผมว่าจะกล่าวถึงเรื่องนี้หลังจากผมได้นำเสนอหัวข้ออื่นๆไปอีก 8 – 10 เรื่อง แต่ผมอดใจไม่ไหวครับ เพราะผมเพิ่งทำโครงงานนี้เสร็จไปเมื่อวานนี้เอง และผมก็ค้นพบอะไรที่น่าสนใจหลายเรื่องจากการวิจัยในครั้งนี้ และมีเรื่องหนึ่งที่ผมค้นพบ และได้รับคำชมจากอาจารย์ของผมว่าทำได้น่าประทับใจ (ขออวดนิดนึงนะครับ) เพราะถือเป็นการค้นพบครั้งใหม่ในศาสตร์ด้านนี้เลยครับ แต่ผมคงไม่ได้กล่าวในที่นี้ (อาจจะไปกล่าวใน conference ใดสักที่ก็ได้ครับ) โอเคครับ…คลิ้กเข้ามา มาอ่านว่าบทความนี้กล่าวถึง Redundancy ว่าอย่างไร

Continue reading

Peer-to-Peer กับการเก็บเกี่ยว CPU

The image is from www.ricethailand.go.th 

สำหรับบทความนี้ ผมจะกล่าวถึงการนำ Peer-to-Peer มาประยุกต์ในการดึงเอาความสามารถของ CPU ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายมาใช้งานให้เกิดประโยชน์มากกว่าการเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้เฉยๆ เช่น ในช่วงเวลาเราพักสายตาเป็นเวลา 20 นาทีจากการใช้คอม, ปวดหนักจำเป็นต้องวางมือจากคอมไปเข้าห้องน้ำ, ตอนพักเที่ยงต้องไปทานข้าวและเตร็ดเตร่ข้างนอก, และเหตุการณ์ต่างๆที่เราลืมปิดเครื่องหรือเปิดไว้โดยตั้งใจ แต่ไม่ได้ใช้งานอะไร เป็นต้น หรือแม้แต่ในขณะที่เราใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่เต็มที่ เช่น เปิด screensaver ค้างไว้, นั่งอ่าน ebook และเปิดดูคลังรูปภาพทีละรูปอย่างตั้งใจ เป็นต้น เราอาจมองว่าการเปิดคอมทิ้งไว้หรือใช้คอมไม่เต็มกำลังมันจะกินไฟเท่าไหร่กัน (คอมหนึ่งเครื่องกินไฟนิดเดียว แต่ถ้ามองทั้งประเทศก็กินไฟเยอะน่าดู) อย่างไรก็ตาม มันก็ถือว่าเป็นการใช้คอมอย่างไม่เกิดประสิทธิภาพเต็มที่…โอเคครับ เรามาใช้โปรแกรมแบบ P2P สำหรับเก็บเกี่ยว (เหมือนเก็บเกี่ยวพืชผล) เอาเวลาที่เราเปิดคอม(โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์)มาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดหรือมากกว่าเดิม สำหรับใครที่ไม่ทราบว่า P2P คืออะไร สามารถอ่านผลงานผมย้อนหลังได้ที่ https://javaboom.wordpress.com/?p=24

Continue reading

P2P = Peer-to-Peer (หรือ Pirate-to-Pirate ?)

Picture from the Film Pirates Of The Caribbean

ภาพประกอบจากภาพยนตร์เรื่อง Pirates Of The Caribbean

P2P ได้กลายเป็นแชมป์เปี้ยนแห่งโลกไซเบอร์อย่างไม่ต้องสงสัย เรียกได้ว่า เหล่าบรรดานัก (ดาวน์) โหลดทั้งมือใหม่และมืออาชีพหลายล้านคนต่างติดใจใช้ P2P อย่างวางมือไม่ลง แม้บางคนอาจจะไม่รู้ว่า P2P คืออะไร แต่ก็อาจจะเคยสักครั้งที่ได้ใช้ P2P อย่างไม่รู้ตัว เหตุใดผมถึงว่า P2P นั้นได้ครองแชมป์โลกไซเบอร์ เพราะเนื่องจากรายงานของ ISP หลายเจ้ากล่าวว่า การจราจรบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือ Internet traffic มากกว่า 50% ถูกใช้โดยโปรแกรมแบบ P2P และบางช่วงเวลาก็กระโดดไปถึง 75% ! [2-5]ตัวเลขนี้บ่งชี้ว่า P2P มันได้หน้ากว่า World Wide Web (WWW) และบริการ Internet อื่นๆซะอีก แม้ว่าจำนวนผู้ใช้ P2P จะน้อยกว่าคนที่ท่องเว็บผ่าน WWW แต่ว่าแบนด์วิธ (Network bandwidth) ของเครือข่ายกลับถูกบริโภคโดย P2P มากกว่าจำนวนที่เอาไปให้กับการท่องเว็บซะอีก …โอเค เอาเป็นว่าผมจะคุยถึง P2P ต่อไปอีกหลายบทความแล้วกัน เพื่อที่เราจะได้ทำความรู้จักกับ P2P แบบใกล้ชิด และสำหรับบทความนี้ เอาแค่หอมปากหอมคอ สำหรับคนไม่รู้จักว่า P2P คืออะไรก็จะได้รู้จักซะที สำหรับคนที่งงว่า P2P ย่อจากอะไร ขอเฉลยก่อนว่ามันย่อจาก Peer-to-Peer นั่นเอง และตอนท้ายของบทความนี้ ขอแสดงความคิดเห็นหน่อยว่า ทำไมชื่อหัวข้อของบทความมันถึงไปเกี่ยวกับโจรสลัด (Pirate) ทำไมถึงต้อง Pirate-to-Pirate ?

Continue reading