Just the Beginning

Actually I did not like to blog anything on April Fools’ Day LoL. Specifically, this post is about my small achievements. Well, the small achievements were just the starting point of my career. I always realize that the achievements are not that big. Some people may not be confident to publicly show the small number of papers, especially the papers are not that well contributed works. For me (specifically me),  I am still proud to ever produce them.

So what are they? They are academic papers that I had contributed since I was a PhD student in Nanyang Technological University, Singapore. I enrolled here on Jan 7th, 2008. In some papers, I was a co-author. Thanks a million for main authors and co-authors who contributed a lot on the papers. Thanks a million for pieces of advice. Thanks a million for their support, push, encouragement, and being patient with me.

Continue reading

Charity Engine มาร่วมกันอุทิศพลังประมวลผลเพื่อการกุศลกันเถอะ

Charity Engine

“Changing the world one bit at a time” เป็นวลีที่จับใจจริงๆ

Charity Engine เป็นซอฟต์แวร์ฝั่งไคลเอนต์ (client) ที่รับงาน (job) จากเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลาง โดย job ดังกล่าวเกิดจาก “ปัญหา” ขนาดใหญ่ โดยปกติแล้ว ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาทางวิทยาศาสตร์หรืองานวิจัยที่มีความซับซ้อนสูงมากๆ และต้องยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลขนาดมหึมา ทำให้โปรแกรมเมอร์ต้องทำการ parallelize หรือเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาให้สามารถประมวลผลแบบขนานได้  ส่งผลให้ปัญหาถูกแก้ได้รวดเร็วขึ้น โดยโปรแกรมเมอร์ใช้วิธีบางอย่างในการแบ่งโปรเซสของปัญหาให้เป็นหน่วยย่อยๆ และข้อมูลขนาดมหึมาของปัญหายังสามารถถูกแบ่งเป็นข้อมูลย่อยๆได้อีกด้วย (ซึ่งแบ่งข้อมูลใหญ่ๆให้เล็กลงทำได้ง่ายกว่าแบ่งโปรเซส)

Continue reading

สร้างคลัสเตอร์บน EC2 ใน 10 นาที

 เมื่อวานนี้ผมได้รับอีเมลจาก HPC Wire ซึ่งเป็นจดหมายประชาสัมพันธ์บทเรียนออนไลน์ของ Amazon Web Services ภายใต้หัวข้อที่ฟังดูน่าตื่นเต้นคือ Build a 64-Core Parallel Cluster and Run Dynamic Simulation in Less Than 10 Minutes หรือ “สร้างคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์แบบขนานเพื่อรันโปรแกรมซิมมูเลชันภายใน 10 นาที” โดยอีเมลก็มีลิงค์ไปยังหน้าเว็บสาธิตของ Amazon ในหน้าเว็บมีวิดีโอสาธิตแนบมาให้ด้วย

หมายเหตุ ผมได้ดูวิดีโอสาธิต แต่ไม่ได้ลงมือปฎบัติตาม ซึ่งถ้าลงมือปฎิบัติเข้าจริงๆ ผมคาดว่าอาจใช้เวลามากกว่า 10 นาทีอยู่นะ แต่ก็คงไม่ได้มากกว่าเท่าไหร่ แต่วิดีโอสาธิตมันมีความยาว 10 นาที (จริงๆ 10 นาที กับอีก 24 วินาที)

Continue reading

เพิ่งรู้สึกว่าได้หัดเดิน เมื่อได้ journal ตัวแรก

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผมได้รับข่าวดีจาก IEEE ว่า เปเปอร์ที่ผมส่งไปเมื่อต้นปีก่อนได้รับการตอบรับหรือ accept เพื่อได้รับการการตีพิมพ์ลง IEEE Transactions on Services Computing ภายใต้หัวข้อผลงานชื่อ “Optimization of Resource Provisioning Cost in Cloud Computing” นับว่าเป็น Journal ตัวแรกของชีวิตเลยแหละ เป็นการรอคอยที่นานเกือบปี แต่ก็คุ้มค่ากับการรอคอย

Continue reading

แจกฟรีหนังสือ High Performance Computing for Dummies

 

 

 

 

AMD กับ Sun เคยแจกหนังสือ (เป็น ebook) ชื่อ Virtualization for Dummies มาแล้ว สำหรับครั้งนี้ AMD กลับมาแจกอีกครั้ง เป็นหนังสือชื่อ High Performance Computing for Dummies (2nd AMD Special Edition) เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการเริ่มต้นกับเทคโนโลยีการประมวลผลสมรรถนะสูง ท่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลดหนังสือนี้ได้ที่ AMD (ต้องกรอกแบบฟอร์มก่อน) จริงๆก่อนหน้านี้ AMD กับ Sun เองก็เคยแจกหนังสือเล่มนี้แล้วด้วย แต่เป็นเวอร์ชัน Sun and AMD Special Edition ท่านสามารถดาวน์โหลดเวอร์ชันดังกล่าวโดยตรงแบบไม่ต้องกรอกแบบฟอร์มได้ที่ Sun

 

สร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ด้วยโทรศัพท์มือถือ

ไอโฟน 4 ที่ผมได้ช่วงครบรอบวันเกิดเมื่อปีก่อน

บล็อกของผมเริ่มแห้งแล้งมากขึ้นเรื่อยๆ โชคดีที่ไปเจอคำถามดีๆที่ blognone เข้าให้ ทำให้ผมมีเรื่องให้เขียน ต้องขอขอบคุณคุณ PaPaSEK ที่ตั้งคำถามดีๆไว้ใน blognone หัวข้อคำถามมีอยู่ว่า จะมีมั้ยครับที่เอา Smartphone มาพ่วงกันเป็น Supercomputer ผมได้ตอบเอาไว้แล้วที่กระทู้ต้นฉบับ  แต่ผมก็ไม่วายเว้น ขอเขียนอะไรเพิ่มเติมไว้ที่นี่ด้วยแล้วกันนะ (ผมใช้เวลาเขียนบทความตั้งแต่วันที่ผมเจอคำถามของคุณ PaPaSEK)

โทรศัพท์มือถือสมัยนี้มีสเปคที่แรงเหลือล้น เรียกว่าบางรุ่นมีสมรรถนะเทียบเคียงหรือแรงกว่าคอมพิวเตอร์เมื่อ 7-10 ปีก่อนเลยแหละ ดังนั้น จึงมีโครงการวิจัย และบรรดา geek อยู่มากมายพยายามพ่วงโทรศัพท์มือถือให้เป็นเสมือนกลุ่มคอมพิวเตอร์หรือคลัสเตอร์เพื่อช่วยกันประมวลผลงานแบบขนานบ้าง รวมไปถึงความหวังว่าจะสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์กันเลยทีเดียว

Continue reading

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เปลี่ยนไปตามสมัย

ผมไม่อยากให้ blog มันเงียบเหงา เลยขออนุญาตคัดลอกเอา comment ที่ผมตอบไว้ในข่าวที่ผมเขียนไว้ใน blognone มาแปะสะสมไว้ในนี้ (ตามชื่อ blog ของผม คือ JavaBoom Collections) หัวข้อข่าวครั้งนี้ คือ ตามคาด! จีนครองแชมป์โลก TOP500 ครั้งที่ 36 รายงานในวันที่ 15 พฤศจิกายน หรือ 14 พฤศจิกายนของฝั่งอเมริกา ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่งาน SC10 ได้ประกาศผล TOP500 อย่างเป็นทางการ

ผมตัด comment ของคุณ planktons ที่ได้ถามคำถามเกี่ยวกับวงการซูเปอร์คอมในเมืองไทย อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการยิงนก 2 ตัวพร้อมๆกัน ผมเลยตอบคำถามของคุณ planktons แต่ดันสาธยายน้ำท่วมทุ่งถึงเรื่องราวเกี่ยวกับคำนิยามของ “ซูเปอร์คอมพิวเตอร์” (กล่าวคือ ผมตอบเกินคำถาม)  จริงๆมันก็ไม่ใช่นิยามหรอกนะ ผมต้องการบอกว่า คำว่า ซูเปอร์ (super) มันเป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบ ดังนั้น สิ่งที่เคยซูเปอร์ย่อมเปลี่ยนแปลงได้ และก็จบท้ายด้วยคำถามอีกคำถามของคุณ planktons เกี่ยวกับโปรเซสเซอร์ Cell … ต้องขอขอบคุณ planktons สำหรับคำถามครั้งนี้ครับผม

รายละเอียดก็แปะไว้ดังนี้

Continue reading

GRIDtodayเปลี่ยนไปเป็นOn-Demand Enterpriseแล้วครับ

โลโก้ ON-DEMAND ENTERPRISE หรือชื่อเดิมคือ GRIDtoday

ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2551 เป็นต้นไป เว็บไซต์ GRIDtoday (หรือ gridtoday.com) ถูกเปลี่ยนไปเป็น On-Demand Enterprise (on-demandenterprise.com)แล้วนะครับ สำหรับคนที่อยู่ในวงการกริดคงได้เข้าไปอ่านข่าวสารจากGRIDtodayอยู่บ่อยครั้ง แต่เนื่องจากวัตถุประสงค์ของทีมงานเว็บGRIDtodayต้องการนำเสนอสาระที่กว้างไปกว่าGrid Computing ไม่ว่าจะเป็น High Performance Computing, Utility Computing, Virtualization, SaaS, SOA, Cloud Computing ที่กำลังมาแรงแซงโค้ง, และหัวข้ออื่นๆที่เกี่ยวข้องกัน และเพื่อต้องการเสนอข่าวที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นตลาดธุรกิจมากขึ้น และเพื่อปูเส้นทางให้กับองค์บริษัทได้ก้าวเข้าสู่ยุค ON-DEMAND ตามชื่อของเว็บใหม่ On-Demand Enterprise นั่นเอง

UPDATE: ท้ายที่สุด on-demandenterprise.com ก็หยุดทำการไปเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ มีผลตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2008 เป็นต้นมา

ทานอาหารเกาหลีกับอาจารย์ภุชงค์

“ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ ผู้ถ่ายทอดวิชา HPC ให้กับผม”

ในช่วงวันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา อาจารย์ภุชงค์เดินทางมาสิงคโปร์ในงานสัมนาของ HP และเป็นวิทยากรในงานครั้งนี้ด้วย ถ้าหากท่านใดอยู่วงการด้าน High Performance Computing ท่านต้องรู้จักอาจารย์ภุชงค์ อุทโยภาศ อย่างแน่นอน ผมเชื่อว่าหลายท่าน (ทั้งไทยและเทศ) รวมทั้งผม ยอมรับว่า อาจารย์ภุชงค์เป็น God Father ในด้าน Computer Cluster และ Grid Computing ของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ และท่านก็เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของผมและได้ถ่ายทอดเคล็ดลับวิชา High Performance ขั้น 5 ให้กับผมตอนที่ผมเรียนโทวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ ม.เกษตร เอ…แล้วขั้น 5 มันเป็นไงก็คงบอกไม่ได้ครับ เพราะถ้าบอกมันก็ไม่เป็นเคล็ดลับสิ ปัจจุบันนี้ นอกจากอาจารย์จะสอนที่วิศวะที่ ม.เกษตรแล้ว อาจารย์ยังบริหารงานอยู่ที่ศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ (Thai National Grid Center) ของกระทรวง ICT อีกด้วย

ตัดฉากมาที่วันที่ 21 พฤษภาคม อาจารย์นัดให้ผมไปรออาจารย์ที่โรงแรม Hyatt ตั้งอยู่ถนน Orchard โดยโรงแรมนี้เป็นสถานที่ประชุมและเป็นที่ผู้เข้าประชุมพัก ต้องยอมรับเลยว่า Hyatt ที่นี่หรูมากๆ ผมแทบจะผ่านประตูโรงแรมไม่ได้เพราะแต่งตัวไม่ใช่ผู้ดีเท่าไหร่ พอตอน 5.30 PM อาจารย์ก็ลงมาและเราก็ไปทานข้าวกันที่ร้านอาหารเกาหลีร้านหนึ่งแถวห้างข้างๆโรงแรม ผมจำชื่อร้านไม่ได้และก็ไม่มีภาพถ่ายด้วย เพราะมัวแต่สนทนากับอาจารย์จนลืมเก็บภาพไว้ โดยส่วนใหญ่หัวข้อสนทนาเป็นเหตุการณ์บ้านเมืองของไทยและสถานภาพของไทยกริด และก็มีหัวข้อหนึ่งซึ่งเป็นที่มาว่าทำไมช่วงนี้ผมถึงเขียนแต่เรื่อง PlayStation3 (PS3) อาจารย์เล่าว่าทำไมญี่ปุ่นเขาถึงไม่ทำ PS3 Cluster กัน อาจารย์บอกผมว่าญี่ปุ่นเขาทำมาแล้ว แล้วเขาก็พบว่ามันไม่เวิร์ค และไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นอะไรที่จะมาประกาศให้ชาวโลกรู้ว่าเขาทำเรื่องไม่เวิร์คมาเรียบร้อยแล้ว และก็วิเคราะห์ต่อไปว่า เป็นเรื่องความแตกต่างระหว่างชาติตะวันออกกับตะวันตก ตรงที่ว่าเวลาตะวันตกเขาพบอะไร เขาก็มักโปรโมทอะไรต่อมิอะไรให้ชาวโลกรับทราบ ซึ่งต่างจากตะวันออกที่เราค้นพบอะไรสักอย่าง ถ้าเป็นเรื่องที่เราคิดว่าไม่สำคัญมากหรือเป็นเรื่องท้องถิ่นของเราเอง เราก็บันทึกเอาไว้ หรือเล่าให้กันฟังแค่ในวงการหรือท้องถิ่นที่อยู่ สำหรับตะวันตกเขารุ่งเรื่องเพราะเขา Marketing และทำแผนโปรโมทดี ณ ตอนนี้ ประเทศทางตะวันออกก็เลยเอาแนวทางการทำ Marketing การโปรโมทขั้นโลกาภิวัตน์บ้าง อย่างอาหารเกาหลีที่ผมกับอาจารย์มาทานวันนี้ครับ ไม่รู้อาหารเกาหลีดังตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ผมคิดว่าน่าจะมาจากแดจังกึมนี่แหละครับ ไทยก็ทำได้ครับ อาหารไทยถือว่าขึ้นชื่อระดับนานาชาติ หากโปรโมทกันหนักๆเน้นๆอย่างที่แดจังกึมทำสำเร็จมาแล้วท่าจะดีครับ เพราะอาหารไทยที่สิงคโปร์หากปรุงโดยคนต่างชาติ ผมว่าหน้าตาของอาหารและรสชาติไม่ใช่ไทยเลย ออกไปทางจีนซะมากกว่าครับ เสียรสชาติความเป็นไทยหมด ถ้าจะทำอาหารไทยเอาใจคนจีนอันนี้ผมว่าควรจะบอกไปเลยว่านี่คือร้านอาหารจีนนะ โอเคยืมชื่ออาหารไทยไปใช้ก็ได้ เราต้องโปรโมทหนังไทยระดับสากลแล้วสิ เอาดารา Hollywood มาแสดงกับดาราชั้นนำของไทย และใส่เนื้อเรื่องที่ไปเกี่ยวกับอาหารไทยให้ได้ บอกว่ามีเครื่องปรุงและเอกลักษณ์ของความเป็นไทยที่อยู่ในอาหารน่ะคืออะไร แนะนำเมนูไทยให้ชาวโลกรู้หน่อยว่ามีอะไรบ้าง เพราะอาหารไทยไม่ได้มีแต่ส้มตำและต้มยำกุ้งอย่างเดียวเด้อ

When A Dog Needs to Play

จากข่าวที่ผมเคยได้นำเสนอมาแล้วในหัวข้อ “PS3 Cluster is not a Joke” และผมได้ทิ้งท้ายไปว่าเราคงจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ PlayStation 3 (PS3) Cluster ออกมาขายกัน และก็ไม่ใช่เรื่องหยอกๆเลยเพราะมันมีจริงๆแล้วด้วย

Continue reading

Peer-to-Peer กับการเก็บเกี่ยว CPU

The image is from www.ricethailand.go.th 

สำหรับบทความนี้ ผมจะกล่าวถึงการนำ Peer-to-Peer มาประยุกต์ในการดึงเอาความสามารถของ CPU ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายมาใช้งานให้เกิดประโยชน์มากกว่าการเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้เฉยๆ เช่น ในช่วงเวลาเราพักสายตาเป็นเวลา 20 นาทีจากการใช้คอม, ปวดหนักจำเป็นต้องวางมือจากคอมไปเข้าห้องน้ำ, ตอนพักเที่ยงต้องไปทานข้าวและเตร็ดเตร่ข้างนอก, และเหตุการณ์ต่างๆที่เราลืมปิดเครื่องหรือเปิดไว้โดยตั้งใจ แต่ไม่ได้ใช้งานอะไร เป็นต้น หรือแม้แต่ในขณะที่เราใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่เต็มที่ เช่น เปิด screensaver ค้างไว้, นั่งอ่าน ebook และเปิดดูคลังรูปภาพทีละรูปอย่างตั้งใจ เป็นต้น เราอาจมองว่าการเปิดคอมทิ้งไว้หรือใช้คอมไม่เต็มกำลังมันจะกินไฟเท่าไหร่กัน (คอมหนึ่งเครื่องกินไฟนิดเดียว แต่ถ้ามองทั้งประเทศก็กินไฟเยอะน่าดู) อย่างไรก็ตาม มันก็ถือว่าเป็นการใช้คอมอย่างไม่เกิดประสิทธิภาพเต็มที่…โอเคครับ เรามาใช้โปรแกรมแบบ P2P สำหรับเก็บเกี่ยว (เหมือนเก็บเกี่ยวพืชผล) เอาเวลาที่เราเปิดคอม(โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์)มาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดหรือมากกว่าเดิม สำหรับใครที่ไม่ทราบว่า P2P คืออะไร สามารถอ่านผลงานผมย้อนหลังได้ที่ https://javaboom.wordpress.com/?p=24

Continue reading

PS3 Cluster is not a Joke!

PS3 Rack from PlayStation3 GavityGrid

ตอนพักเที่ยง ผมเข้าไปแวะ blog ของ ScawLey ซึ่งเป็น blog ที่ผมชอบมาก blog หนึ่ง เนื่องจากมีเนื้อหาที่หลากหลายและมีประโยชน์ และแล้วผมก็ได้เจอ post หนึ่งเรื่อง “PS3 – 10 real-life applications” มี 2 ภาค คือ part1 กับ part2 โดยเขาได้รวบรวม application ที่เครื่องเล่นเกมส์คอนโซลอย่าง PlayStation3 (เรียกสั้นๆว่า PS3) ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานจริง แต่มีหัวข้อหนึ่งคือโครงการ PlayStation3 GravityGrid ที่ผมสนใจมากและก็เคยติดตามข่าวนี้มาสักระยะ  จนวันนี้ก็พบว่ามันไปไกลจนออกข่าวกันโด่งดังไปแล้ว (ตกข่าวอีกแล้วผม)

Continue reading