หมวดงานวิจัยเกี่ยวกับ Cloud Computing

เนื่องจากช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ที่สนใจ cloud computing และหัวข้อด้าน virtualization หลายท่านอีัเมลมาถามผมว่าจะทำหัวข้อวิจัยอะไรดี สำหรับท่านที่เรียนปริญญาตรีอยู่ก็ถามหาหัวข้อโปรเจ็คที่เกี่ยวกับ cloud computing ถ้านับตามเวลาถึงวันนี้ก็ไม่ต่ำกว่า 10 ท่านแล้วครับ ผมจึงได้รวบรวมคำตอบไว้ระดับหนึ่ง ใครถามผมมา ผมก็เอาคำตอบที่เป็น template เดิมๆตอบไป ยกเว้นซะว่าท่านที่ถามมาจะมีไอเดียและยิงคำถามเฉพาะเจาะจงมา ผมถึงจะตอบได้ตรงประเด็น

โอเค เข้าเรื่องกันครับ … เอาเข้าจริงๆแล้ว งานวิจัยด้าน cloud computing ก็มุ่งไปที่การแก้ปัญหาหลายๆอย่างดั่งที่เราเคยเห็นกันทั่วไปใน distributed system ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะ cloud computing ก็เป็น distributed system ดีๆนี่เอง ส่วนคุณสมบัติที่(น่าจะ)ทำให้ cloud computing ดูโดดเด่น และทำให้ cloud computing แตกต่างไปจาก distributed system หลายๆโมเดลที่ผ่านมาก็คือ cloud computing เสนอโมเดลที่ผู้ให้บริการทรัพยากรคอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอระบบแก่ลูกค้าที่สามารถยืดได้หดได้อย่างยืดหยุ่น เพื่อปรับขนาดระบบ(หรือฟิต)กับความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างทันท่วงที และเราก็นิยมเรียกคุณสมบัตินี้ว่า elasticity (หรือ auto-scaling) กล่าวคือ มันสามารถที่จะ scale up และ scale down ได้อย่างยืดหยุ่นทั้ง vertical scale และ horizontal scale (คงได้พูดถึง scalability เมื่อมีโอกาส) และจะรวมไปถึงความสามารถที่เรียกว่า “dynamic provisioning”

ผมจะไม่ลงรายละเอียดกับคำว่า elasticity และ dynamic provisioning ในบทความนี้ (อาจจะยกยอดไปเขียนอีกครั้ง ถ้ามีโอกาสนะ) ท่านใดสนใจอยากทราบจุดเด่นของ cloud computing กับสิ่งที่เรียกว่า elasticity และ dynamic provisioning สามารถศึกษาได้ในรายงานของ Berkley ที่ชื่อ Above the Clouds: A Berkeley View of Cloud Computing

ส่้วนอีกปัจจัยที่ทำให้ cloud computing ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากภาคธุรกิจก็คือ cloud computing ทำเงินได้จากโมเดลที่เรียกว่า utility computing ซึ่งโมเดลนี้เป็นความฝันของ distributed system มาหลายสิบปีแล้วและก็มีหลายบริษัทเคยพัฒนามาแล้ว แต่ทว่า utility computing  เริ่มปรากฎให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในยุคที่ distributed system มาบรรจบกับ virtualization พร้อมกับโมเดลก่อนๆที่เข้มแข็งอย่าง grid computing และคุณสมบัติที่ดูโดดเด่นอย่าง elasticity ที่เกิดขึ้นได้ไม่ยากเมื่อมีทรัพยากรคอมพิวเตอร์จำนวนมหาศาลที่ให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(ความเร็วสูง) จนท้ายที่สุดก็บังเกิดเป็น cloud computing ขึ้นมานั่นเอง

เท่าที่ผมติดตามผลงานด้าน cloud computing มา ก็เคยมีผู้เชี่ยวชาญแบ่งงานวิจัยด้าน cloud computing หลายท่าน แต่ผมขอรวบรวมและแบ่งหมวดงานวิจัยตามประสบการณ์ของผม และผมขอไม่ลงรายเอียดอธิบายแต่ละหมวดแบบเจาะลึกมากนัก (เช่น จะทำวิจัยอย่างไรดี, ใช้เครื่องมืออะไรในการแก้ปัญหา, และมีเรื่องอะไรบ้างให้แก้ปัญหาได้ เป็นต้น) ท่านใดสนใจก็ค้นคว้าหาเปเปอร์มาอ่านเพิ่มเอาเองแล้วกันนะครับ และผมขออนุญาตใช้ภาษาอังกฤษสำหรับศัพท์เทคนิคบางคำ

(หมายเหตุ: ผมขอเรียก cloud computing สั้นๆว่า cloud)

ผมแบ่งหัวข้อวิจัย(และพัฒนา)ด้าน cloud computing ออกเป็น 8 หมวดด้วยกัน ดังนี้

1. Cloud application คือ การประยุกต์ใช้ cloud สำหรับ application ต่างๆ เช่น database, data mining, high performance computing, scientific workflow เป็นต้น งานเหล่านี้มีคนทำเยอะมากครับ มีตีพิมพ์ลงใน ACM กับ IEEE จำนวนหนึ่งแล้ว และถ้าเป็น application ทางธุรกิจอย่างพวกระบบบัญชีี/CRM เป็นต้น ก็สามารถค้นหาบทความได้ใน google (ส่วนใหญ่เขียนเป็น blog) ถ้าเป็นงานพวก finance/banking ก็ถือว่ายังมีให้เห็นน้อย เพราะคนเขากลัวข้อมูลรั่วไหล (ซึ่งถกกันในหัวข้อที่ 6.) แต่ก็มีบทวิเคราะห์ให้อ่านตาม blog ต่างๆเช่นกัน ถ้าุจะทำหัวข้อประมาณ cloud application นี้ก็คงต้องหา application ที่น่าสนใจมาวิเคราะห์ และต้องหา measurement และ factor ที่เหมาะสมมาใช้ในการวิเคราะห์/เปรียบเทียบ รวมถึงควรมี case study ที่ีเป็นรูปธรรมสำหรับอธิบายด้วยเพื่อทำให้งานมีคุณภาพยิ่งขึ้น

2. Cloud middleware คือ ซอฟต์แวร์ middleware สำหรับพัฒนาและบริหาร cloud computing ซึ่งมีคนทำเยอะพอสมควรเลยทั้งที่เป็นของขาย, opensource, และ freeware ครับ โดยโมเดลของ cloud มี 3 แบบใหญ่ๆคือ IaaS, PaaS, SaaS ซึ่ง cloud middleware ที่ทำกันอย่างจริงจังก็จะเป็น IaaS และ PaaS ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ดังกล่าว ได้แก่ Aneka, OpenNebula, Enomaly, Nimbus, Eucalyptus เป็นต้น (Aneka สำหรับ PaaS ส่วนตัวที่เหลือนั้นสำหรับ IaaS) ซึ่งถ้าจะทำงานส่วนนี้มันก็น่าสนใจอยู่ แต่มีคนทำเยอะแล้วและเขาก็พัฒนากันเป็นทีมงานที่ใหญ่พอควร อีกทั้งมีบริษัทหรือหน่วยงานใหญ่ๆสนับสนุน ถ้าทำคนเดียวก็หนักน่าดู อย่างไรก็ดี เราสามารถแต่งเติมจุดที่ขาดหายไปให้กับ middleware ได้ครับ อันนี้ ก็ต้องศึกษาเองแล้วว่าแต่ละตัวมันขาดอะไรบ้าง แล้วจะต่อเติมอะไรเข้าไปได้ นอกจากนี้แล้ว cloud middleware ยังรวมถึง middleware อื่นๆที่สนับสนุนการทำงานของแอพพลิเคชันบน cloud computing อาทิเช่น Hadoop File System (HDFS) สำหรับการสร้าง distributed file system เป็นต้น

3. Market oriented cloud ส่วนนี้ก็ว่าด้วยเรื่อง economic/business model สำหรับ cloud computing ว่าจะซื้อขายทรัพยากรใน cloud ได้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ (เช่น ได้กำไรสูงสุด, ลดต้นทุนมากสุด, ขยายฐานลูกค้าได้มากสุด) เช่น ตั้งราคา/ลดราคาเท่าไหร่ให้ดึงดูดและได้กำไร เป็นต้น ซึ่งมีทั้งงานที่เป็น design, implement, และ theory

4. Resource provisioning (อันรวมถึง elasticity, dynamic provisioning กับ capacity planning) เป็นหัวข้อที่ศึกษากันมานานแล้วสำหรับนักเศรษฐศาสตร์ (ทางวิศวะไฟฟ้าและการสื่อสารเขาก็เล่นมาระยะหนึ่งแล้ว) สำหรับทางคอมพิวเตอร์ก็มีคนศึกษามาตอนปี 1980 แล้ว แต่ทว่า cloud มันมีคุณสมบัติ elasticity ซึ่งเป็นหัวข้อที่ยังน่าสนใจอยู่มาก  โดยงาน R&D ในส่วนนี้มีึคนแห่มาทำกันมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วน implementation ซึ่งพบได้ในฟีเจอร์ของ cloud middleware ที่กล่าวในหัวข้อที่ 2.    ส่วนการทำ elasticity (หรือ auto scaling) ให้กับ application ที่เจาะจงลงไปเลยก็ถือว่าน่าสนใจใช่น้อย เช่น ค้นหาวิธีทำ auto scale สำหรับระบบฐานข้อมูลหรือระบบ game online เป็นต้น

5. Virtualizaiton จริงๆมันก็เป็นงานวิจัยที่สามารถแยกออกมาจาก cloud อย่างเป็นอิสระได้ และเขาก็ทำกันมานานแล้ว แต่ทว่าเรื่องนี้ก็ยังดังไม่เสื่อมคลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่โมเดล IaaS ของ cloud กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก หัวข้อนี้ก็มีตั้งแต่คิดค้นวิธี live migration ของ virtual machine (VM) ที่เีร็วขึ้น, การทำ VM cloning ที่เร็วขึ้น, กาีรค้นหา VM placement ที่มีประสิทธิภาพ (VM placement จะเกี่ยวข้องกับ system consolidation ด้วย), การแชร์หน่วยความจำระหว่าง VM, การจูน Hypervisor (เช่น Xen และ  KVM) ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยอุปสรรคของ hypervisor หลักๆเลยคือ overhead ที่เกิดจาก I/O ซึ่งมีคนทำวิจัยด้านนี้พอสมควร แต่หัวข้อการลด overhead ของ I/O ก็ยังเป็นหัวข้อที่เปิดกว้างให้คนเข้ามาปรับปรุงและเพิ่มลูกเล่นได้อยู่เรื่อยๆ

6. Security และ Reliability เรื่องนี้เป็นหัวข้อที่ศึกษากันอยู่แล้วแม้จะไม่มี cloud ก็ตาม หากแต่ผู้คนกังวลและกังขาสำหรับเรื่องนี้มากๆใน cloud หัวข้อดังกล่าวเลยเป็นที่สนใจของนักวิจัย เช่น จะเสนอแบบจำลองทางด้าน trust, sandbox, fault tolerant เช่นไรที่ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าเขาสามารถฝากระบบไอทีรวมถึงข้อมูลที่สำคัญบน cloud ได้อย่่างปลอดภัย และยังรวมไปถึงการคิดค้นระบบรับประกันคุณภาพหรือ Quality of Service (QoS) ที่ศึกษากันหนักใน network ด้วย เช่นจะรับประกัน network bandwidth รวมถึง CPU bandwidth ให้กับผู้ใช้ได้อย่างไร ถ้าเป็น network bandwidth เขาศึกษากันเยอะแล้ว แต่ถ้าเป็น CPU bandwidth เช่น ผู้ให้บริการ cloud จะรับประกันลูกค้าได้อย่างไรว่าจะให้บริการ CPU (ซึ่งก็คือบริการให้เช่าหน่วยประมวลผล)แก่ลูกค้าให้ได้ความเร็วตามที่สัญญาไว้ (สัญญาไว้ใน SLA) และทำอย่างไรหากผู้ให้บริการบอกว่าระบบของผู้ให้บริการต้องให้บริการ(รวมถึงให้การซัพพอร์ต)ด้วยระดับ availability 24/7 หรือ 99.999 % เป็นต้น

7. Programming  model/API/framework for cloud งานส่วนนี้ คือ การคิดค้นโมเ้ดลรวมถึง API และ framework สำหรับเขียนโปรแกรมบน cloud ซึ่งต้องยอมรับเลยว่า  Map/Reduce ของ google เป็นตัวที่นิยมมาก และก็มีเพื่อนพ้อง model ต่างๆที่อิืงหรือเทียบเคียงกับ Map/Reduce อาทิเช่น Hadoop, Sector/Sphere และ GridBatch อย่างไรก็ดี โมเดลพวกนี้มันเหมาะสำหรับ application บางประเภท (โดยเฉพาะ data intensive application) ใช่ว่างานทุกงานจะเขียนโดย Map/Reduce ได้หมด ดังนั้น ก็มีนักวิจัยมากมายพยายามค้นหาโมเ้ดลใหม่มาเรื่อยครับ และ่งานส่วนนี้ก็จะเกี่ยวโยงไปหาโมเดลสำหรับพัฒนาโปรแกรมแบบขนานไปในตัวด้วย

8. Green computing คือการคิดค้นอัลริธึมหรือโมเดลทางคณิตศาสตร์ิเพื่อใช้ในการลดการบริโภคพลังงานของ datacenter หรือแก้ปัญหา green computing เพราะว่า datacenter เป็นแกนหลักของทรัพยากรคอมพิวเตอร์ใน cloud และการจะรองรับความต้องการของผู้ใช้ได้ทั่วถึงและตรงความต้องการของผู้ใช้ได้นั้น ผู้ให้บริการต้องเตรียม datacenter ที่ใหญ่มาก (เช่น มีคนกล่าวขานกันว่า google มี datacenter ที่มีเซิร์ฟเวอร์มากกว่าล้านเครื่อง) และผลที่ตามมาก็คือ การบริโภคพลังงานไฟฟ้าอย่างมหาศาล ดังนั้น การประหยัดพลังงานไฟฟ้า/น้ำ, การลดความร้อน, การรีไซเคิล  จึงเป็นหัวข้อที่ร้อนแรงมากในงานวิจัยด้าน cloud เช่นกัน

ผมก็สรุปไว้เป็น 8 หมวดแล้วกันนะครับ มันอาจจะแตกแขนงหรือมีเรื่องที่น่าสนใจมากกว่านี้ ท่านใดสนใจก็ลองค้นคว้าหาเปเปอร์อ่านเอาใน IEEE, ACM หรือ Springer ทีละนิดละน้อย ตอนนี้เริ่มมีเปเปอร์เกี่ยวกับ cloud computing โผล่มากขึ้นเรื่อยๆแล้วครับ ว่าแล้วผมก็ขออนุญาตกลับไปนั่งปั่นงานต่อ 🙂

74 thoughts on “หมวดงานวิจัยเกี่ยวกับ Cloud Computing

  1. pond says:

    ขอบคุณ ครับพี่บูม สู้ ๆๆ จบเอกเร็วๆๆ
    วันที่ 12 /10/2009 ผมอยู่ช่วงสอบproject พอดี

    • ด้วยความยินดีครับ ขอเพียงเครดิตชื่อผมและลิงค์ของเว็บเพจหน้านี้ครับ

  2. Vee says:

    ช่วยบอกหน่อยได้มั้ยคับว่า ต้องไปหาเปเปอร์ที่ไหนมาอ่านเพิ่มเติม เรื่องcloud application “ขอบคุณมากๆๆๆคับ”

    • สวัสดีครับ

      ไม่ทราบว่าคุณยังเรียนในมหาวิทยาลัยอยู่หรือเปล่าครับ ปกติมหาลัยหลายๆที่เขาจะมีฐานข้อมูลเปเปอร์ของสำนักพิมพ์หลายๆสำนักครับ โดยห้องสมุดของมหาลัยจะดูแลเรื่องนี้ ลองไปติดต่อได้ครับ ส่วนสำนึกพิมพ์ที่มีเปเปอร์พวก cloud application ก็มี IEEE กับ ACM ครับ ผมเห็นจำนวนหนึ่งแล้วครับ แต่ก็ออกแนว application ทางวิชาการนะครับ ถ้าจะเอา application ทางธุรกิจเขาไม่ค่อยเปิดเผยกันเท่าไหร่ แต่สามารถดูตัวอย่างได้จาก amazon ที่ http://aws.amazon.com/solutions/case-studies/ ครับ

  3. Vee says:

    คือว่ายังเรียนอยู่อ่ะคับ พอดีอาจารย์ให้หัวข้อนี้มาเป็นเรื่องที่จะสัมมนา แต่ยังหาข้อมูลได้ไม่พอเลย เพราะต้องทำส่งอาทิตย์นี้แล้วอ่ะคับ ยังไงก้อช่วยแนะนำหน่อย..

    • ลองทำตามที่ผมแนะนำใน comment ด้านบนครับ ข้อมูลเยอะมากครับ ฐานข้อมูลใน IEEE กับ ACM มีเพรียบครับ ถ้า google ก็มีเยอะนะครับ

  4. Vee says:

    อยากได้หนังสือที่เป็นภาษาไทยมีมั้ยอ่ะคับ……..

    • ผมไม่ได้อยู่เมืองไทย เลยไม่แน่ใจว่ามีคนเขียนยังครับ อันนี้ต้องลองดูเองตามร้านหนังสือนะครับ

  5. Golf says:

    หลังจากที่ได้อ่านบทความของคุณ boom แล้วทำให้ได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับ cloud computing เพิ่มขึ้นเยอะเรยครับ ขอบคุณน่ะครับสำหรับความรู้นี้ อยากรบกวนคุณบูมพอจะแนะนำให้หน่อยได้ป่าวหรอครับถ้าเกิดผมต้องการหาข้อมูลวิจัยที่เกี่ยวกับ 1. Cloud application หรือ 7. Programming model/API/framework for cloud เพิ่มเติมผมสามารถหาได้ที่ไหนบ้างหรอครับ ขอบคุณน่ะครับ สำหรับคำแนะนำครับ

    • ไม่ทราบว่าตอนนี้คุณเรียนระดับตรี/โท/เอกครับ เนื่องจากลักษณะงานวิจัยในแต่ละระดับก็จะแตกต่างกันไปน่ะครับ

      อย่างไรก็ดี การเริ่มต้นศึกษาในฟิลด์ก็เริ่มต้น ณ จุดเดียวกัน คุณสามารถค้นคว้าหาเปเปอร์เกี่ยวกับดังกล่าวได้จากฐานข้อมูลเปเปอร์ IEEE, ACM และ Springer ได้ครับ แต่ละมหาลัยจะมีวิธีการเข้าถึงฐานข้อมูลเหล่านี้อยู่ครับ ผมได้เขียน blog งานแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับ cloud ไว้ที่ https://javaboom.wordpress.com/2009/11/23/taxonomy_survey_cloud/ ลองอ่านงานเหล่านั้นเป็นตัวเริ่มต้นก็ได้ครับ

  6. May says:

    สวัสดีค่ะ พี่บูม พอดีจะทำงานวิจัยเรื่องเกี่ยวกับcloud computing เห็นหัวข้อที่พี่บูมตอบเกี่ยวกับหัวข้อค่ะ เลยสนใจเรื่อง Market orient cloud ค่ะ
    รบกวนขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ไหมค่ะว่าต้องมีframworkอย่างไร
    และในIEEE กับACM มีเยอะหรือยังค่ะ
    ขอบคุณมากค่ะ

    • สวัสดีครับน้องเมย์

      เริ่มมีงานทางด้าน Market oriented cloud ออกมาแล้วครับ ผมกับอาจารย์ของผมก็ทำด้านนี้ไปบ้างแล้วครับ เรามีงานลง IEEE ด้าน market cloud ที่ accept แล้วหนึ่งงาน (เป็น game theory approach) ถ้าน้องสนใจเปเปอร์นี้ก็เมลมาหาได้นะครับ น้องหาอีเมลผมได้ที่ About JavaBoom ตามลิงค์ด้านบนของ blog ส่วนคนที่ทำด้าน market cloud มาก่อนหน้านี้ก็คือ Rajkumar Buyya (เขาทำมาตั้งแต่ Economic Grid) มีงานตีพิมพ์ด้าน market cloud ที่ journal future generation ของ science direct ครับ

      นอกจากนี้ ยังมีงานอื่นๆที่เป็นเชิงวิเคราะห์ด้าน risk และพวก cost benefit analysis ครับ และเราจะเริ่มเห็นงานที่พวก pricing และ marketing มากขึ้นครับ

  7. som_zika@hotmail.com says:

    คือว่าเรียนโทอยู่อ่ะค่ะ จะทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องcloud storage อ่ะค่ะ แต่อยากรุ้ว่าจากประสบการณ์ของบูมอ่ะ คิดว่าscopeงาน มันควรอยู่แค่ไหนอ่ะ และ ควรหางานวิจัยจากแหล่งใดบ้างอ่ะคะ ที่คิดว่ามันโอเคอ่ะค่ะ หรือว่ายกตัวอย่างมาก้ได้อ่ะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

    • ขอโทษที่ตอบช้าครับ เพิ่งว่างมาเช็ค

      คำถามกว้างมากเลยน่ะครับ คือ นักวิจัยแต่ละคนก็ชอบไม่เหมือนกัน ถนัดไม่เหมือนกันน่ะครับ ถ้าถามผม ผมก็มีแนวทางของผมอยู่ครับ ผมไม่อยากตอบว่าควรทำอะไรดีน่ะครับ เอาเป็นว่าลองไปค้นหาเรื่องที่สนใจและคิดว่าอยากทำมาก่อน แล้วมาคุยกันจะดีกว่าครับผม

      ผมแนะนำให้ไปหาเปเปอร์ใน IEEE, ACM, Springer และ ScienceDirect มาอ่านเยอะๆจะดีมากๆครับ

  8. sumawadee says:

    พี่ค่ะหนูมีเรื่องอยากให้พี่ช่วยคืออาจารย์หนูให้หนูทำสัมมนาค่ะแต่หนูหาหัวข้อไม่ได้ไม่รู้จะทำเรื่องไรดีแต่หนูสนใจเรื่องmulti media แต่หนูไม่รู้เรื่องเท่าไรพี่ช่วยดูให้หน่อยนะค่ะขอคุณล่วงหน้าค่ะ

    • ขอโทษทีครับน้อง พี่ไม่ถนัดเรื่อง multi media ครับ น้องไปถามใน pantip หรือ blognone น่าจะมีคนช่วยเหลือน้องได้ดีกว่าพี่นะครับ

  9. nAtz says:

    ผมเรียนตรี อยู่ครับ พอดีกำลังจะทำ senior project เรื่องนี้ อยากได้ข้อมูลอ่านเพิ่มเติม ช่วยแนะนำด้วยครับ

    3.Market oriented cloud ส่วนนี้ก็ว่าด้วยเรื่อง economic/business model สำหรับ cloud computing ว่าจะซื้อขายทรัพยากรใน cloud ได้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ (เช่น ได้กำไรสูงสุด, ลดต้นทุนมากสุด, ขยายฐานลูกค้าได้มากสุด) เช่น ตั้งราคา/ลดราคาเท่าไหร่ให้ดึงดูดและได้กำไร เป็นต้น ซึ่งมีทั้งงานที่เป็น design, implement, และ theory

    • nAtz says:

      ลิมบอกไปครับ เป็นงานที่ implement technology เข้าไปแทนแบบเดิม ใน organization ครับ

      • สวัสดีครับ

        อย่างที่ผมเคยกล่าวไว้ในหัวข้อ แนะนำ: งาน survey และ/หรือ taxonomy ด้าน cloud computing (https://javaboom.wordpress.com/2009/11/23/taxonomy_survey_cloud/) ผมแนะนำให้อ่านเปเปอร์พื้นฐานเหล่านั้นก่อนจะได้เห็นมุมมองกว้างๆครับ จากนั้นลองเข้าไปค้นหาเปเปอร์เพิ่มเติมในฐานข้อมูล IEEE, ACM, Springer ดูครับ ลองหาจาก google scholar ก่อนก็ได้ แล้วตอนดาวน์โหลดเข้าระบบของมหาลัยที่คุณอยู่ครับ สงสัยวิธีการล็อกอิน ก็ถามอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดได้ครับ

  10. pect says:

    สวัสดีครับ

    คือผมกำลังสนใจเรื่อง Cloud application จะเอามาทำกับพวก Database และ Data Mining พอจะมีข้อมูลหรือเอกสาร ให้ศึกษาเพิ่มเติมไหมครับ
    และจากข้อความนี้

    “ต้องหา application ที่น่าสนใจมาวิเคราะห์ และต้องหา measurement และ factor ที่เหมาะสมมาใช้ในการวิเคราะห์/เปรียบเทียบ รวมถึงควรมี case study ที่ีเป็นรูปธรรมสำหรับอธิบายด้วยเพื่อทำให้งานมีคุณภาพยิ่งขึ้น”

    พอจะมีเอกสารอธิบายเพิ่มเติมไหมครับในการหา measurement และ factor

    ขอบคุณครับ

  11. สวัสดีครับ

    เมื่อปลายเดือนก่อน ผมเข้าไปดูความเคลื่อนไหวใน IEEE และ ACM พบว่ามีเปเปอร์เกี่ยวกับ database อยู่ครับ ส่วน Data mining พบว่าเป็นส่วนที่ใช้ Hadoop หรือ Map/Reduce (มีคนที่ทำงานผมก็ทำเรื่องนี้อยู่) มีเปเปอร์ที่พูดถึงการใช้ Amazon S3 กับ database ชื่อ “Building a Database on S3” (อันนี้ของ ACM)

    เรื่อง measurement ที่ถามตอนท้ายสุด แนะนำให้ลองอ่านอกสารเรื่องของ micrsoft โหลดได้ฟรีที่ ftp://ftp.research.microsoft.com/pub/debull/A09mar/aboulnaga.pdf

    และอีกอัน (แต่ไม่ฟรี) โหลดได้ที่ Springer คือ เปเปอร์ชื่อ “Criteria to Compare Cloud Computing with Current Database Technology”

  12. ฺบุ๋มบิ๋ม says:

    สวัสดีค่ะ

    ตอนนี้เรียนป.โท
    กำลังทำหัวข้อ Cloud Computing Standard
    พี่บูมพอจะมีคำแนะนำไหมค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    • ครับผม

      ผมแนะนำให้อ่านเปเปอร์เยอะๆครับ แต่ละคนมีความถนัดและความสนใจในหัวข้อวิจัยไม่เหมือนกันครับ ดังนั้น ต้องค้นคว้าก่อนว่าเขาทำอะไรกัน แล้วลองตอบคำถามตัวเองว่าเราจะพัฒนาอะไรที่แตกต่างหรือปรับปรุงให้ดีขึ้นครับ

      อย่างไรก็ตาม เรื่อง cloud standard เขากำลังเจาะไปในเรื่อง intercloud ครับ ลองค้นหาข้อมูลดู มีอาจารย์คนไทยท่านหนึ่งกำลังทำปริญญาเอกด้านนี้ที่อังกฤษครับ

      ถ้าสนใจอยากถามผมแบบตัวเป็นๆ ประมาณอาทิตย์หน้าผมไปเมืองไทย อยู่ที่ มจธ. (บางมด) ประมาณ 10 วันครับ ผมมีบรรยายหัวข้อเกี่ยวกับงานวิจัย cloud ด้วย จะมาคุยกันก็ได้ครับ

      • ฺบุ๋มบิ๋ม says:

        พี่บูม จะบรรยายที่ มจธ. วัน – เวลาไหนค่ะ
        แต่ถ้าเป็นวันที่ 21 – 22 สค. คงอดแน่เลย
        เพราะมีสอบFinal….

        ขอบคุณมากๆค่ะ

    • สวัสดีครับน้องบุ๋มบิ๋ม ตกลงอาจารย์จะให้พี่บรรยายในคลาสวิชา Grid Computing ในวันพุธเย็นหรือวันพรุ่งนี้นั่นเอง พี่คิดว่าอาจจะไม่สะดวกน่ะครับ เพราะมันเป็นคลาสเรียนของนักศึกษากลุ่มนึงเลยน่ะครับ อย่างไรก็ดี พี่จัดส่งสไลด์ไปให้ได้ครับ

  13. ^— ยังไม่ทราบเลยครับ แต่คงระหว่าง 16-25 สค วันใดวันนึงครับ เดี๋ยวได้วันแน่นอนแล้วจะแจ้งให้ทราบนะครับ ส่งอีเมลมาถามเพิ่มได้ครับ

  14. BB says:

    สวัสดีครับคุณบูม

    ผมสนใจจะฟังบรรยายเกี่ยวกับเรื่องนี้เหมือนกัน

    ตอนนี้ผมกำลังทำวิจัยเรื่อง Cloud เกี่ยวกับ government อยู่น่ะครับ

    แต่ยังรู้เรื่องนี้ไม่มากเท่าไหร่ ถ้าว่างก็อยากจะแวะไปฟังนะครับ ^ ^”

    • สวัสดีครับ

      ที่ มจธ. ให้ผมบรรยายในชั่วโมงเรียนของคลาส Grid Computing น่ะครับ อาจจะไม่สะดวกสำหรับท่านอื่นที่ไม่ได้ลงเรียนน่ะครับ เพราะเป็นคลาสที่จริงๆดูแลโดยอาจารย์ท่านอื่นครับ ต้องขอประทานโทษด้วยนะครับ

  15. Bas says:

    สวัสดีครับ อาจารย์บูม วันนี้ได้ฟังอาจารย์พูดเรื่อง cloud ก็พอเข้าใจขึ้นมาบ้าง แต่ก้อยังอดสงสัยไม่ได้ว่า cloud กับ grid มันต่างกันอย่างไร แต่ผมก็กำลังอ่านบทความของอาจารย์อยู่ครับ จาได้รู้ไปเลยว่ามันต่างกันจริงๆ ขอบคุณมากครับที่มาบรรยายให้นักศึกษาฟังครับ

  16. Attasit says:

    อยากจะสอบถามเรื่อง Cloud computing กับ opennebula อะครับ พอจะทราบการทำงานหรือการ setup ระบบของ opennebula หรือไม่อะครับ เพราะผมมีความสนใจใน opennebula เพราะเห็นว่า opennebula จัดเป็นหมวด cloud computing ด้วยอะครับ เลยอยากทราบการนำไปประยุกต์ใช้งานว่าเราจะนำไปใช้งานได้ในด้านไหนบ้างครับ

    ขอบคุณมากครับ

    • เรื่อง Cloud Computing เอาไปประยุกต์มีให้อ่านบน net เยอะมากครับ ลองค้นหาจาก blog ของผมในส่วน https://javaboom.wordpress.com/tag/cloud-computing/ ก็ได้ หรือ google ดูก็มีเยอะเลยครับ

      ส่วน OpenNebula นี้ ผมตอบให้ละเอียดเท่าต้นฉบับคงไม่ได้ครับ ผมแนะนำให้อ่านจากหน้าเว็บ http://www.opennebula.org/ ครับ เขาเขียนละเอียดอยู่นะครับ

      ป.ล. ต้องขออภัยที่ไม่ได้ตอบละเอียด อย่างที่ผมเขียนไว้ในบทความด้านบนนะครับ “ท่านใดสนใจก็ค้นคว้าหาเปเปอร์มาอ่านเพิ่มเอาเองแล้วกันนะครับ”

  17. Attasit says:

    ขอบคุณมากครับ ผมได้เข้าไปศึกษาและอ่านจาก Blog แล้วทำให้เข้าใจใน Cloud computing ได้มากขึ้นจริงๆ ครับ ขอบคุณมากครับ

  18. Takdanai says:

    ขอบคุณสำหรัย ความรู้เรื่อง Cloud มากเลยครับ คือผมสนใจ ทำวิจัยด้านนี้อยู่พอดี แต่สนใจพิเศษ ในด้าน Security ยังไงขอคำปรึกษากับ คำแนะนำหน่อยได้มั้ยครับ ว่า จะมีแนวทางกับ ควรเริ่มต้นยังไงดีอ่ะครับ

    ขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

    • เริ่มจากการไปค้นหาและโหลดเปเปอร์ใน IEEE กับ ACM มาให้เยอะๆครับ แล้วก็ปูพื้นฐานด้าน cryptography และ security ให้แน่ครับ

      เรื่อง cloud computing เป็นแค่เรื่องรองครับ มันไม่ใช่อะไรที่ใหม่อยู่แล้ว ดังนั้น เราเตรียมพร้อมจากการค้นคว้าสิ่งที่คนเขาทำไว้แล้ว ไม่ว่าจะทำกับระบบใดๆก็ตาม จะเป็น distributed system หรือระบบ telecom ใดๆก็แล้วแต่ครับ จากนั้น เราค่อยหาแนวทางว่าจะประยุกต์อะไรมาสร้างสรรกับสิ่งที่ยังไม่มีใครเจาะจงบน cloud computing ครับ

      • Takdanai says:

        ขอบคุณพี่บูมมากเลยครับ ไว้ถ้าผมมีปัญหาหรือ จะปรึกษาเรื่องวิจัยว่าแนวทางไหนดี จะมาขอคำแนะนำอีกนะครับผม

  19. สรวัชร says:

    พอดีต้อนนี้ผมกำลังสนใจทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ cloud computing อยู่ครับ แต่เป็นวิทยานิพนธ์ของกฎหมาย เลยอยากจะถามคุณบูมว่ามีคำแนะนำในเรื่องประเด็นทางกฎหมายไหมครับ ผมอยากทราบว่าการเกิดของ cloud computing มันจะทำให้เกิดประเด็นใดที่มันใหม่(หมายถึงว่า มันมีอะไรพิเศษที่ต่างจากระบบก่อนๆที่มีอยู่ที่ทำให้ความคุ้มครองทางกฎหมายมันเข้าไปไม่ถึงน่ะครับ)

    ไม่ทราบเหมือนกันว่าคุณบูมจะพอแนะนำได้หรือปล่าวแต่ก็ขอความกรุณาด้วยครับ ขอบคุนล่วงหน้านะครับ

    • น่าสนใจนะครับ คือ ผมเคยอ่านบทความ(ในเน็ต) เป็นพวก blog และพวกบทความ online columnist เขามีกล่าวถึงเรื่องกฎหมายกับ cloud กันเยอะอยู่ แต่ผมไม่ได้เก็บ link ไว้น่ะครับ ยังไงคุณสรวัชรคงต้อง google ค้นหาบทความพวกนั้นเอา ผมลองค้นดูแล้ว เขาก็กล่างถึงเรื่องนี้ไม่น้อยเลยครับ

      ส่วนใหญ่กล่าวถึงเรื่องของการเก็บข้อมูลไว้กับ cloud คือ มีอยู่บางประเทศที่เขาบังคับให้ cloud provider ต้องเก็บข้อมูลไว้ในประเทศเท่านั้น เช่น บางประเทศทางยุโรป เขาไม่ทราบเอาข้อมูลบางอย่างมาเก็บที่อเมริกาได้ ดังนั้น ลูกค้าในประเทศพวกนี้ต้องเลือก cloud provider ที่มี data center ในแถบ EU เท่านั้น เป็นต้น นอกจานี้ ยังเป็นพวกกฎหมายเรื่อง data privacy ครับ

      และก็มีพวกกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เช่น ถ้าข้อมูลหรือระบบไอทีที่ลูกค้าฝากไว้กับ cloud แล้วไม่ได้รับบริการได้ดั่งที่ provider ระบุไว้ใน Service-Level Agreement (SLA) ลูกค้าก็สามารถเอาเรื่องได้ แต่มันก็มีเส้นสีเทาบางๆคั่นไว้อยู่ว่า ระบบมัน up/down มากน้อยเพียงใดถึงจะเรียกว่าเอาผิดได้ครับ

  20. pepsi says:

    สวัสดีคับพอดีเรืยนโท สถาปัตย์ มธ. น่ะ ครับด้าน คอมพิวเตอร์
    พอผมเข้ามาอ่าน แล้วค่อนข้าง จะมีประโยชน์ สาระต่อการนำมาศึกษาข้อมูลน่ะคับ
    คือ จริงๆแล้วหัวข้อ ทีสิส นั้นก็ไม่เชิงเป็นระบบ Cloud Computer ซะโดยตรงทีเดียว
    แต่ก็อยากจะนำมาอ้างอิงน่ะ ไม่ทราบว่า พี่พอจะมีข้อมูล หรือเป็นบทความของพี่ที่พอให้มาอ้างอิงเป็นข้อมูลสนับสนุน ด้าน ระบบ Cloud Computer บ้างได้มั้ยคับ

    • สวัสดีครับ โทษด้วยตอบล่าช้าครับ

      มีบทความอ้างอิงเกี่ยวกับ cloud computing เยอะเลยครับ อยู่ที่ว่าจะอ้างอิงเรื่องอะไรน่ะครับ แต่การอ้างอิงโดยใช้ web นั้นไม่เป็นที่ยอมรับในวงกว้างนะครับ ดังนั้น ผมแนะนำให้ค้นคว้าจากสำนักที่มีชื่ออย่าง IEEE ACM Springer หรือ ScienceDirect น่าจะดีกว่าครับ

      ผมก็บทความน่ะครับ แต่ผมไม่ทราบว่าคุณอยากอ้างอิงเนื้อหาอะไรหรือครับ? จะได้แนะนำถูกครับผม

  21. ผมสนใจจะทำวิทยานิพธน์เกี่ยวกับความปลอดภัยบน cloud Computing ไม่ทราบว่ามีแนวไหมคับ รบกวนด้วย่นะ yarangit@yahoo.com

  22. SuperMaew says:

    สวัสดีค่ะ สนใจทำวิจัยเรื่อง mobile cloud computing ระดับ ป เอก แต่ยังมืดมิดกับเรื่่องหัวข้อค่ะ หากมีข้อแนะนำหรือ contact ท่านใดให้ติดต่อสอบถามได้ รบกวนด้วยนะคะ nipaporn.l@gmail.com

  23. เพื่อนคนใดที่ทำวิจัยเรื่อง ระบบ cloud จะมาแชร์ความรู้กัน ผมขอร่วมด้วยคนคับ ตอนนี้ทำวิทยานพินธ์ระดับ ปโท อยู่ครับ อยากแลกเปลี่ยนความรู้ เพราะศึกษาแล้วเอกสารเยอะมาก ถ้าได้เพื่อนมาแชร์ความรู้กันคงจะดีกว่านั่งอ่านเอกสารอย่างเดียวครับ เพราะแต่ละคนสนใจไม่เหมือนกัน ยังก็เมลล์มาคุยกันได้คับ ผมก็อยากปรึกษากับเพื่อนๆด้วยคับ ถือว่าเป็นการส่งเสริมกันแล้วกันน่ะครับ ขอขอบคุณน่ะคับ yarangit@yahoo.com

  24. พี่คะ ช่วยอธิบายเรื่อง Requirements Engineering for Cloud Computing หน่อยคะ
    ขอบคุนค่า

    • ขอโทษด้วยครับ พี่ไม่ได้สนใจด้าน requirements engineering ครับ เลยไม่รู้ว่าจะอธิบายยังไงครับ

  25. ผมกำลังทำประเด็นเกี่ยวกับผู้ให้บริการอยู่คับ แต่ก็ยังตีประเด็นไม่แตกคับ เป็นวิทยานิพนธ์คับ

    • ครับผม สู้ๆครับ

      Research คือ re + search แปลว่า ค้นแล้วค้นเล่า ดังนั้น กว่าจะตีประเด็นให้แตก จึงต้องค้นคว้าพอสมควรครับ

  26. KM says:

    สวัสดีครับ

    จากที่ผมอ่านจากบทความและความเห็นด้านบนแล้ว Cloud computing เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตมาขึ้นไปเรื่อยๆ ละ ผมอยากปรึกษาเกี่ยวกับหัวข้อทั้ง 8 ว่าถ้าจะทำเกี่ยวกับการศึกษาบ้างว่าจะได้ไหมครับ…ผมเรียน เทคโนโลยีทางการศึกษา อยู่ครับ….ขอบคุณครับ

    • ขอโทษด้วยครับที่เข้ามาตอบช้า

      ครับผม Cloud Computing เอาไปประยุกต์กับการศึกษาได้มากเลยครับ มีการประยุกต์ Cloud กับการศึกษามากมายที่ประสบความสำเร็จครับผม

  27. Hansa says:

    สวัสดีค่ะ ศึกษาอยู่ในระดับป.โท ที่มจธ. ค่ะ กำลังสนใจทำ project เกี่ยวกับการทดสอบซอพแวร์ที่อยู่บน Cloud พอจะมี งานเขียนหรืองานวิจัยแนะนำบ้างไหมคะ

    ขอบคุณค่ะ

    • มีงานที่เกี่ยวข้องเยอะเลยครับ ลองค้นคว้าหาเปเปอร์จาก IEEE ครับ เริ่มจาก google scholar ก็ได้ครับ

  28. Maaeyeng says:

    พอจะมีองค์กรได้บ้างที่นำ cloud มาใช้ในองค์กรกรณีที่ว่านำมาใช้เป็นระบบขององค์กรไปเลย เช่น ระบบ CRM ERP หรือระบบอื่นๆ ทั้งหมดหรือบ้างส่วน ของเป็นองค์กรที่อยู่ในประเทศไทย พอจะทราบไหม จะนำข้อมูลมาทำวิทยานิพนธ์ แต่ขาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานจริงรบกวนหน่อยน่ะคับ

    • จริงๆ cloud ก็ออกแบบมาให้กับระบบขององค์กรอยู่แล้วครับ ส่วนใหญ่จะเป็นใช้ cloud เพียงบางส่วนมากกว่าที่จะทดแทนระบบไอทีทั้งองค์กร

      แต่ในประเทศไทย ผมไม่มีข้อมูลน่ะครับ ผมไม่ได้ค่อยติดตามข่าว cloud ของไทยเท่าไหร่ (ผมทำงานที่สิงคโปร์) แต่เท่าที่ได้ยินมาก็คือ หน่วยงานภาครัฐก็พยายามเอา cloud มาใช้ อาจจะเป็นโครงการเริ่มต้น อาทิเช่น ของกระทรวงศึกษา เป็นต้น SIPA เองก็เคยว่าจะทำนะครับ ถ้าบริษัทก็มี CP ที่จริงจังว่าได้เอา cloud ไปใช้ในองค์กร

      ผมแนะนำให้คุณลองค้นหาข่าวในไทยจากกูเกิล น่าจะมีหลายองค์กรเข้าไปใช้ cloud แล้วครับ แต่ถ้าของต่างประเทศแล้วละก็ มีตัวอย่างเยอะหลายพันตัวอย่างเลยครับ ลองดูลูกค้าส่วนนึงของ Amazon ที่ http://aws.amazon.com/solutions/case-studies/ ได้ครับ

  29. น้องดา says:

    สวัสดีนะค่ะ กำลังศึกษาป.โท ที่เกษตรค่ะ อยากจะทำเรื่อง cloud computing ในหัวข้อที่ 6. Security และ Reliability ว่าผู้ใช้มั่นใจได้อย่างไรว่าเขาสามารถฝากระบบไอทีรวมถึงข้อมูลที่สำคัญบน cloud ได้อย่่างปลอดภัย ซึ่งอ่านลงมาเรื่อยๆ เห็นพี่แนะนำว่า
    “ผมแนะนำให้ค้นคว้าจากสำนักที่มีชื่ออย่าง IEEE ACM Springer หรือ ScienceDirect” ในหัวข้อของคนอื่น ๆ ขอความกรุณาอธิบายให้ด้วยน่ะค่ะ หายังไงค่ะ
    จากน้องดา

  30. น้องดา says:

    สวัสดีอีกครั้งน่ะค่ะ น้องดาตั้งหัวข้อแบบนี้ คือ “การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความปลอดภัยและความเชื่อมั่นของผู้ใช้ว่า สามารถฝากระบบไอทีรวมถึงข้อมูลที่่สำคัญบน cloud ได้อย่างปลอดภัย” ไม่แน่ใจว่าตั้งชื่อเป็น คือ ถูกรึเปล่าน่ะค่ะ อยากจะขอรบกวนให้พี่บูมแนะนำด้วยน่ะค่ะ แล้วต้องหาข้อมูลเพิ่มจากที่ใหนค่ะ โปรดแนะนำด้วยน่ะค่ะ
    น้องดาเองคะ

    • ถ้าการตั้งชื่อภาษาไทยผมไม่แนใจว่าถูกต้องหรือเหมาะสมหรือเปล่า? แต่ผมคิดว่าน่าจะใช้ได้อยู่ครับ ส่วนข้อมูลหรือเปเปอร์แนะนำ ก็คือ ต้องค้นคว้าหาจาก IEEE Xplore และ ACM ซึ่งมีเปเปอร์ให้ค้นมากมายที่เกี่ยวกับ cloud และ security ครับ

  31. Nakharin Preecha says:

    สวัสดีครับ ผมแบงก์นะครับ เรียนโทอยู่ คือผมทำ IS ในเรื่องของ Cloud นี่แหละครับ ตอนนี้ผมจับ Point ที่จะทำได้คือการเอา Amazon Ec2 มาใช้แทน Server ที่กำลังใช้อยู่ในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่ นี่เป็น point แรกที่คิดอยู่ แต่คราวนี้ในงานของผม เราก็อาจจะรู้อยู่แล้วว่า Cloud มันอาจจะดีกว่า Server จริง กรรมการก็เลยให้โจทย์กับผมว่า มันพอจะมีประเด็นอื่นที่น่าจะนำมาใช้ใน IS ได้รึเปล่าครับ เช่น Ec2 เหมาะกับองค์กรในระดับเล็กค่อน ๆ มากลางหรือไม่ (พอดีผมสอนอยู่ที่ราชภัฏเลยครับ เป็นม.ที่ไม่ใหญ่มาก) ประมานนี้ครับนอกจากการวัด Performance ของ Cloud กับ Server จริง

    • สวัสดีครับ ส่วนตัวมองว่าไม่พอครับ ควรต้องทำ cost benefit analysis (CBA) ลองไปศึกษา CBA ดูนะครับ มีคนทำด้านนี้ประมาณนึงแล้วครับ มีเปเปอร์ให้อ่านจาก IEEE ครับ

Leave a comment