บุกรัง Microsoft สิงคโปร์

วันนี้ อาจารย์ของผมและผมเองได้รับคำเชิญจากไมโครซอฟท์ที่สิงคโปร์ให้มาร่วมฟังการสาธิตผลิตภัณฑ์และร่วมสนทนาเกี่ยวกับงานวิจัยด้าน Virtualization โดยมีผู้ประสานงานจากไมโครซอฟท์คือ Jerald Cheong ตำแหน่ง Technical Specialist ของ Microsoft HPC โดยทางไมโครซอฟท์ยินดีถ่ายทอดความรู้ให้กับผมเพื่อได้รู้จักผลิตภัณฑ์ Virtualization ทางฝั่งไมโครซอฟท์ และเขาเองก็อยากฟังไอเดียจากทางศูนย์วิจัยของผมว่ากำลังวิจัยเรื่องอะไรอยู่ และร่วมสนทนาว่า อะไรคือสิ่งที่ไมโครซอฟท์กำลังทำอยู่ และอะไรคือสิ่งที่ไมโครซอฟท์หรือผมยังขาดไป ?

พอผมไปถึงสำนักงานของไมโครซอฟท์ ผมก็ทำการสำรวจสถานที่ โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่า Microsoft Innovation Center ซึ่งเป็นส่วนที่เขาพัฒนาระบบงานไอทีสำหรับสาธิตต่อลูกค้า (เสียดายที่ถ่ายรูปไม่ได้เยอะเท่าไหร่ เพราะมัวแต่คุยกับอาจารย์ของผม) พอถึงเวลานัดหมาย ทางไมโครซอฟท์ก็ส่งพนักงานตำแหน่ง IT Pro Evangelist ชื่อ Dennis Chung เป็นผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์นั่นคือ Microsoft VMM 2008 (หรือ Microsoft System Center Virtual Machine Manager 2008) การบุกไมโครซอฟท์ครั้งนี้ มีผมและเพื่อนของผมคือ Junwei เข้าวงสนทนากับไมโครซอฟท์เท่านั้น โดยมีอาจารย์ของผมเป็นผู้มาส่งเราทั้งสองถึงรังไมโครซอฟท์


ภาพถ่ายของ Data Center ที่ชื่อ Microsoft Innovation Center

รายละเอียดของการนำเสนอ ผมก็พอทราบบ้างแล้ว เพราะเคยอ่าน spec คร่าวๆของผลิตภัณฑ์ VMM (รวมถึง Hyper-V) จากเว็บของไมโครซอฟท์ แต่ที่ดูน่าสนใจหน่อยก็คือ ทาง Dennis เองเขาได้นำเสนอการใช้งานซอฟท์แวร์ Microsoft VMM ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆนี้ อืม มันก็ดูใช้งานง่ายจริงๆครับ ซอฟท์แวร์ VMM ตัวนี้ใช้สำหรับบริหาร Data Center โดยใช้ประโยชน์ของ Virtual server เป็นหลัก และ VMM เองก็สนับสนุน Virtual server ทั้งที่เป็น Hyper-V เอง และก็ที่เป็นของเจ้าอื่น อย่าง Xen และ VMware โดยรวมแล้ว ฟีเจอร์ของ VMM ก็คล้ายๆกับผลิตภัณฑ์ VMO4 ของ Platfrom ซึ่งผมเคยเห็นสาธิตมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ VMM โดดเด่นกว่า VMO4 ก็ตรงที่สนับสนุน Xen และ VMware พร้อมกับ Hyper-V นี่แหละ เพราะ VMO4 สนับสนุนแค่ Xen

Dennis สาธิตการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 บน Virtual server ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่า 5 นาที และสาธิตการเปิดปิดเครื่อง Virtual Server ที่ใช้เวลาไม่ถึง 5 วินาที และสาธิตฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การย้ายที่ของ Virtual server โดยวิธี Live migration (ถ้าจำไม่ผิด Dennis จะเรียกว่า Live Motion), การติดตั้ง Linux บน Xen ผ่าน VMM, การปรับเปลี่ยน spec ของ Virtual server โดย Dennis กล่าวว่าเวอร์ชันต่อไปของ Hyper-V จะสามารถปรับ spec (เช่น เพิ่มจำนวน CPU และเพิ่มขนาดแรม) ในตอนรันไทม์ได้เลย และ Dennis ยังสอดแทรกเรื่องลิขสิทธิ์ของ Windows Server 2008 อีกว่า Windows Server 2008 เพียง license เดียว สามารถสร้าง Virtual server ด้วย Hyper-V ได้ถึง 5 เครื่องบนคอมพิวเตอร์จริง 1 เครื่อง และยังกล่าวอีกว่าปัจจุบัน เว็บหลายๆแห่งของไมโครซอฟท์ (เหมือนเขาอยากจะการันตีว่าทุกแห่งเลย) อาทิเช่น microsoft.com ก็รันอยู่บน Virtual server หลายๆเครื่อง

นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์คล้ายๆกับ VMM และ VMO4 ดั่งที่ผมได้เสนอข่าวไว้ใน blognone ในหัวข้อ จับ VMware เข้ากลุ่มเมฆด้วย VDC-OS ของทางบริษัท VMware และ  จับ Xen เข้ากลุ่มเมฆด้วย C3 ของบริษัท Citrix

หลังจบการนำเสนอ ทาง Dennis เองก็เปิดโอกาสให้ผมได้ซักถาม การพบปะครั้งนี้ก็เป็นกันเองมากๆ โดยผมกับ Junwei ก็ยิงคำถามไปที่ Dennis ตลอดเวลาก่อนเขาจะจบการนำเสนอซะอีก และเขาก็ตอบแบบเป็นกันเอง ก็ยอมรับเลยว่าทาง Dennis เองก็ทำหน้าที่ Evangelist ได้เป็นอย่างดี ตอบคำถามเชิงเทคนิคจนถึงขั้นวิจัยได้เลย นอกจากนี้ ยังมี Matthew Hardman ตำแหน่ง Platform Strategy Manager เข้าร่วมวงครั้งนี้ด้วย โดยทาง Matthew เองก็เป็นกันเองมากครับ เขารับปากกับผมว่าจะช่วยประสานกับทาง LABS ของไมโครซอฟท์ที่อเมริกาเพื่อการทำวิจัยร่วมกันในอนาคตด้วย และยังบอกว่าจะสนับสนุนเอกสารทางเทคนิคและซอฟท์แวร์ของไมโครซอฟท์หากผมต้องการ อาจจะมีคนสงสัยว่า ทำไมไมโครซอฟท์ถึงอยากร่วมมือกับองค์กรศึกษาเพื่อการวิจัยร่วม ตอบได้เลยว่า ไมโครซอฟท์เองก็อยากได้ผลการทดลองและการเปรียบเทียบต่างๆที่ทางองค์กรศึกษาได้ผลิตออกมาด้วยเช่นกัน อาทิเช่นว่า ถ้าองค์กรศึกษาทำการวิจัยหรือทดลองผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์หรือของเจ้าอื่นๆก็ตาม ทางไมโครซอฟท์ก็อยากได้ผลลัพธ์นั้นๆด้วยนั่นเอง

ภาพนี้ คือ package ของ VMM และ Windows Server 2008 ในเวอร์ชันทดลองใช้ โดย Matthew จะส่ง license แบบใช้้ไม่จำกัดตามมาทีหลัง

ภาพนี้ Dennis สาธิตการติดตั้งและรัน Fedora ผ่าน VMM

ภาพนี้ก็คือ Dennis ขณะกำลังสาธิตซอฟท์แวร์​ VMM ผมเสียดายมากที่ไม่ได้ถ่ายรูปบรรยากาศภายในห้องนี้ คือ มันน่าอยู่มากๆครับ มี XBOX360 อยู่ 2 เครื่องพร้อมเกมส์มากมาย และ controller ของ XBOX360 เกือบทุกชนิด พร้อมจอ projector รอบห้องประมาณ 6 ตัว

การพบปะครั้งนี้ของผม ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีกับไมโครซอฟท์ หลังจากที่ผมติดตามข่าวของไมโครซอฟท์ที่ได้บุกตลาด Cloud Computing มาได้สักครู่ ในที่สุด ผมก็ได้บุกรังไมโครซอฟท์เสียที สำหรับข่าวที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ Cloud Computing และ/หรือ Virtualization ของไมโครซอฟท์ที่ผมเคยได้นำเสนอไว้ในเว็บไซต์ blognone ได้แก่

บิล เกตส์ชี้ Cloud Storage ไปได้รุ่งกว่า

จับ Hyper-V เข้ากลุ่มเมฆด้วย VMM

บัลเมอร์: “ไม่มีใครใช้ Google Apps แล้ว”

เปิดหน้าต่างมองดูกลุ่มเมฆผ่าน Windows Cloud

3 thoughts on “บุกรัง Microsoft สิงคโปร์

  1. ถึง natty

    งานที่พี่กำลังจะ join กับ microsoft เป็นโครงการยักษ์โครงการหนึ่งที่สิงคโปร์เลยครับ คล้ายๆกับ Amazon EC2 กับ IBM Blue Cloud โดยสรุปก็เกี่ยวกับ cloud computing นี่แหละ

    ถ้าดูในแง่การเมืองแล้ว ตอนนี้ microsoft ก็เลยญาติดีกับหน่วยงานวิจัยของพี่ทำงานอยู่ครับ ถ้า microsoft สามารถส่งเสริมให้หน่วยงาวิจัยที่สิงคโปร์เข้าไปทำงานร่วมกับ labs ของ microsoft ได้ ก็เป็นเครดิตอันดีให้ microsoft ได้เข้าโครงการใหญ่ๆนี้ได้ครับ

Leave a reply to javaboom Cancel reply